วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีรับมือกับภัยธรรมชาติ


ภัยธรรมชาติ (Natural Disasters)
         
          ภัยธรรมชาติ หมายถึง ภัยอันตรายต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ ของมนุษย์ นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วที่มนุษย์ ผจญกับความยิ่งใหญ่ของภัยธรรมชาติ มนุษย์พยายามเรียนรู้และเอาชนะภัยธรรมชาติ ตราบจนปัจจุบัน มนุษย์ยังไม่สามารถเอาชนะได้เลย หนทางเดียวที่ดีที่สุด พึงกระทำตอนนี้คือพยายามเรียนรู้ธรรมชาติของภัยต่างๆเหล่านี้แล้ว หาทางป้องกันและลดความเสียหายที่จะเกิดจากภัยธรรมชาติต่างๆเหล่านี้ให้มากที่สุด

1.อุทกภัย
          อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่าหรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ
ชนิดของอุทกภัย
1.             น้ำป่าไหลหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา หรือต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์จนได้รับความเสียหาย.
2.             น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
3.             คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตรซัดเข้าฝั่งซึ่งสามารถทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอ ุต ุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง                                                                                                                               
ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำไหลหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้
หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน


2.พายุฝนฟ้าคะนอง
          พายุฟ้าคะนองนี้บางครั้งเรียก พายุไฟฟ้า (electrical storm) โดยทั่วไปเป็นพายุที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีฟ้าแลบ (lightning) กับฟ้าร้อง (thunder) รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นมักจะมีลมกระโชกแรง (strong gust) และฝนตกหนัก (heavy rain) เกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บ (hail) ตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง
         พายุฟ้าคะนองเป็นผลเนื่องมาจากในเขตร้อนอากาศมีความชื้นมากและมีอุณหภูมิสูงทำให้อากาศไม่มีเสถียรภาพ (instability) หรือบรรยากาศมีอาการไม่ทรงตัวเกิดการผสมคลุกเคล้าจากข้างล่างขึ้นข้างบน และจากข้างบนลงข้างล่าง ในขั้นแรกอากาศหรือบรรยากาศเกิดการไหลขึ้นอย่างรุนแรง (strong convective updraft) และในขั้นต่อมาซึ่งเป็นขั้นสลายตัว (dissipating stage) จะมีกระแสอากาศไหลลงอย่างรุนแรง (strong downdraft) ภายในคอลัมน์ (ช่วง) ของฝน พายุฟ้าคะนองนี้บ่อยครั้งก่อตัวได้สูงถึง 40,000 - 50,000 ฟุต ในบริเวณละติจูดกลาง (mid - latitude) และสูงมากกว่านี้ในเขตร้อน บรรยากาศตอนล่างของชั้นสตราโตสเฟียร์ที่มีเสถียรภาพดีมาก (great stability) เท่านั้นที่สามารถยับยั้งการก่อตัวของเมฆพายุฟ้าคะนองได้
         ในทางอุตุนิยมวิทยาพายุฟ้าคะนองแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ แล้วแต่ธรรมชาติของกาลอากาศขณะนั้น เช่น พายุฟ้าคะนองแบบมวลอากาศ (air - mass thunderstorm) พายุฟ้าคะนองในแนวสควอลล์ (squall - thunderstorm) และพายุฟ้าคะนองแบบแนวปะทะอากาศ (frontal thunderstorm)

                                                                                                                                                          
การเกิดของพายุฟ้าคะนอง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดพายุฟ้าคะนองได้แก่
·         อากาศมีความชื้นสูง และ
·         อากาศไม่มีการทรงตัวหรือไม่มีเสถียรภาพ (instability) หรือ อากาศไม่มีเสถียรภาพแบบมีเงื่อนไข (Conditional Instability) และ
·         มีแรงยกที่ทำให้อากาศลอยตัวขึ้น (Lifting Action) เช่น แรงที่เกิดจากพาความร้อนในแนวดิ่ง แนวปะทะอากาศชนิดใดชนิดหนึ่ง แนวเทือกเขา แนวลมพัดสอบเข้าหากัน
ระยะของการเกิดพายุฟ้าคะนองอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นดังนี้
ระยะเวลาการเกิดพายุฟ้าคะนองเซลเดี่ยวๆ (Single Cell) โดยแบ่งช่วงตามขั้นตอนการเกิดดังนี้
·       ขั้นคิวมูลัส ใช้เวลา 10-15 นาที
·       ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ ใช้เวลา 15-30 นาที
·       ขั้นสลายตัว ใช้เวลา 30 นาที

          การเตรียมพร้อมและหลบเลี่ยงภัยอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง
1.             ไม่ควรออกไปยืนในที่โล่งแจ้ง ระมัดระวังวัสดุสิ่งของปลิวทำอันตรายและระมัดระวังต้นไม้ใหญ่ล้มทับ
2.             ขณะปรากฏฝนฟ้าคะนอง ควรอยู่ภายในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง จนกว่าพายุจะสงบลง
3.             ออกห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด เช่น ลวด โลหะ ท่อน้ำ แนวรั้วบ้าน รถแทรกเตอร์ รถจักรยานยนต์ รางรถไฟ
                          ต้นไม้สูง ต้นไม้โดดเดี่ยวในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น
4.             ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น ควรงดใช้โทรศัพท์ชั่วคราว นอกจากกรณีฉุกเฉิน
5.             ออกห่างจากชายฝั่ง หรือทะเลเมื่อปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง หรือเมื่อมีคลื่นลมแรง เพราะอาจถูกคลื่นกวาดลงทะเลได้
6.             ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินเลื่อนถล่มจากเชิงเขา หรือพื้นที่สูงลงสู่ที่ราบรวมทั้งคลื่นน้ำทะเลที่เกิดจากพายุซัดฝั่ง
7.             ไม่ควรอยู่ในที่ต่ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้
8.             ควรตรวจตราสภาพของอาคารบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงและปลอดภัยอยู่เสมอ รวมทั้งต้นไม้ ป้าย  เสา ไฟฟ้า  ฯลฯ
9.             ไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น
10.            ไม่อยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือถือวัตถุโลหะ เช่น ร่ม เป็นต้น ในขณะเกิดปรากฏการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง



3.วาตภัย
          วาตภัย คือ ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางธรรรมชาติ โดยสามารถแบ่งลักษณะของวาตภัยได้ตามความเร็วลม เช่น พายุฟ้าคนอง พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
          พายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดถี่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีการเกิดน้อยครั้งกว่า สำหรับภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนัก โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดใน ช่วงที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกดอากาศสูงในประเทศจีนพัดมาปะทะกัน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองมีพายุลมแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้จะทำความเสียหายในบริเวณที่ไม่กว้างนัก ประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร
          ลมงวง หรือ (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียน ของลมภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้จะ ทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้ สำหรับในประเทศไทยมักจะเกิดกระแสลมวน ไกล้พื้นดินเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงใต้พื้นฐานเมฆ และจะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ และมีช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จึงทำให้เกิดความเสียหายได้ในบางพื้นที่
การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
1.             ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอ ุต ุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2.             สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอ ุต ุนิยมวิทยา
3.             ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4.             ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5.             เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉายแบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร

          ภัยธรรมชาติที่ได้กล่าวมานั้นเป็นภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยและได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทยมาอย่างมากมาย และนอกจากนี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากไม่ใช้แค่ประเทศไทยแต่ทุกประเทศทั่วโลกแม้ว่าประเทศนั้นจะมีเทคโนโลยีสูงแค่ไหนก็ยังรับมือกับภัยธรรมชาติได้ไม่ดีนัก แสดงให้เราเห็นว่าภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สมควรประมาทเลย เพราะมันอาจคร่าชีวิตเราและคนที่เรารักไปได้ รวมทั้งทรัพย์สินของเรา